Monthly Archives: September 2023

GENESIS64 SCADA : ถ้าต้องการส่งEmailแบบManualบนGraphWorX แทนแบบอัตโนมัติในAlertWorX ทำอย่างไร

ในGraphWorXมีGlobal Commandเพื่อส่งAlert Email แสดงดังรูป โดยFromคือEmailผู้ส่ง DestinationคือEmailผู้รับ ทั้งนี้เราต้องคอนฟิกSMTPและEmail Accountที่ใช้ไว้ในAlertWorXให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าSubscription และต้องแน่ใจว่าServiceชื่อICONICS AlertWorX Serviceทำงานอยู่

Posted in Uncategorized | Leave a comment

GENESIS64 SCADA : เขียนโปรแกรมแบบNo-Code

GENESIS64 เป็นSCADAที่สามารถเขียนโปรแกรมแบบNo-Codeได้ กล่าวคือสามารถสร้างลำดับขั้นตอนและเงื่อนไขการทำงานแบบNo-Codeเพื่อสร้างกระบวนการที่เราต้องการ เช่น สร้างโปรแกรมตรวจจับการเปลี่ยนแปลงจากPLC/Controllerหรือข้อมูลในDatabase ถ้าตรงกับเเงื่อนไขที่ตั้งไว้ก็ให้เก็บข้อมูลและสั่งPLC/Controllerทำงานตามที่ต้องการเป็นลำดับและตรวจสอบต่อไปว่าสิ้นสุดกระบวนการหรือยังจากสถานะของสัญญาณที่เกี่ยวข้องเมื่อเสร็จสิ้นก็หยุดการทำงานแล้วแสดงผลแก่Operatorเป็นต้น เช่นเดียวกับกระบวนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับIOTเช่นตรวจสอบสัญญาณจากWeb Service SOAP/REST หรือ MQTT แล้วทำงานตามกระบวนการที่ออกแบบไว้เป็นลำดับ มีการดีเลย์หรือรอจังหวะแล้ววนลูปตรวจสอบจนกว่าเงื่อนไขเป็นจริงค่อยไปขั้นตอนถัดไปเป็นต้น ความสามารถแบบNo-Codeที่เราสามารถโปรแกรมได้อยู่ในโมดูลหลากหลายของGENESIS64 SCADA เช่น ในGraphWorX64 โดยใช้Batch Command เพื่อสร้างเงื่อนไขและStepการทำงานบนหน้าแสดงผลโดยตรง

Posted in Uncategorized | Leave a comment

GENESIS64 SCADA : เข้าสู่Runtimeด้วยShortcut

เราสามารถต้องการดับเบิ้ลคลิ้กเข้าหน้าแสดงผลนั้นๆแบบRuntimeเลยได้โดยใช้วิธีการดังนี้ ให้สร้างShortcutขึ้นมาในหน้าDesktopดังรูป

Posted in Uncategorized | Leave a comment

GENESIS64 SCADA : ป้องกันการแก้ไข/คอนฟิกไฟล์แสดงผล(GraphWorX) ไม่ต้องคอนฟิกในWorkbench

ปกติเราสามารถกำหนดSecurityป้องกันการเข้าถึง แก้ไข Read/Write ต่างๆบนWorkbench > Security แต่ถ้าเราต้องการส่งไฟล์แสดงผลGraphWorXไปให้ผู้อื่นโดยที่ใช้งานในRuntimeได้เท่านั้น ไม่สามารถเข้าคอนฟิกในไฟล์เพื่อแก้ไข ก็สามารถทำได้ที่ไฟล์ GraphWorX โดยตรงดังนี้

Posted in Uncategorized | Leave a comment

GENESIS64 SCADA : เช็คสัญญาณก่อนนำไปใช้งานเพื่อป้องกันError

สัญญาณจากPLC/Controller/Database/Web Services/MQTT/ฯลฯ หากไม่แน่ใจว่าจะมีเสถียรภาพเพียงใด เมื่อนำไปใช้งานในโมดูลทั่วไปเช่นการMonitoring, Hyper Historian หรือAlarmก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ในส่วนที่เราสั่งให้เก็บข้อมูลในMS SQL, MySQL ผ่าน Data Manipulator บนWorkflowหรือแม้แต่ด้วยGraphWorXเป็นต้นก็ตาม หากสัญญาณนั้นไม่เสถียรอาจจะได้ค่าว่าง (NULL) และอาจไม่สามารถInsertลงไปได้ในกรณีที่คอลัมน์นั้นเป็นPrimary Key เป็นต้น ดังนั้นการตรวจเช็คสัญญาณจึงควรพิจารณาในกรณีดังกล่าว

Posted in Uncategorized | Leave a comment